วันเสาร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บันทึกสงกรานต์

ปี พ.ศ. 2443 - 2555 เทศกาลสงกรานต์ 13 - 14 - 15 เม.ย. วันมหาสงกรานต์ (วันสังขานต์ล่อง) 13 เม.ย., วันเนาว์ (วันเน่า) 14 เม.ย. วันเถลิงศก (วันพระญาวัน -วันปีใหม่เมือง) 15 เม.ย. ตั้งแต่ พ.ศ. 2556 - 2585 วันพระญาวันเลื่อนไปเป็น16 เม.ย. ดังนั้นเทศกาลสงกรานต์ต้องเป็น 14 - 15 - 16 เม.ย. เว้นแต่วันที่เป็นอธิกปูติ (เน่า 2 วัน)

คำถาม :-

1. ทำไมวันที่ 13 เมษายน 2560 จึงไม่แสดงสีแดงซึ่งเป็นวันหยุดราชการ

วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ปฏิทินล้านนา หรือ ปักขทืนล้านนา

ปฏิทิน เป็นคำภาษาบาลีปฏิทิน เป็นคำภาษาบาลี ตรงกับภาษาสันสกฤตว่า ปุรติทิน แปลว่า เฉพาะวัน, สำหรับวัน

ทางเมืองเหนือล้านนา (เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย เป็นต้น) เขียนคำ ปฏิทินล้านนา ว่า ปักขทืน ปากว่า ปัก-ขะ-ตืน

ปักขทืน มาจาก คำสองคำ;
คำแรก ปักขะ, ปักษ์ เป็นคำในภาษาบาลีสันสกฤตว่าที่แปลว่า ฝ่าย,ข้าง ซึ่ง ในที่นี้หมายเฉพาะถึง กิ่งของเดือนนับตามจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ข้าง ได้แก่ข้างขึ้นกับข้างแรม ท่านจึงเรียก พระจันทร์ว่าปักษธร แปลว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งสองข้าง (ข้างขึ้นเดือนงายกับข้างแรมเดือนคว่ำ)

เมื่อนำคำว่า ปักขะ ปักษะ มาใช้กับ การกำหนดนับวัน เดือน ปี จึงขึ้นต้นด้วยการแบ่งวันทั้งหมดของเดือนหนึ่ง ๆ เป็น ๒ ปักษ์ นั้นเอง อย่างหนังสือพิมพ์/วารสาร/นิตยสารออกทุกครึ่งเดือน เรียก หนังสือรายปักษ์ และคิดไปอีกอย่างหนึ่งได้ว่านกนั้นเป็นสัตว์ที่มีปีก ๒ ข้าง ท่านจึงเรียกว่า ปักษิน ปักษา ปักษี เป็นต้น

คำหลัง ทิน (คำท้องถิ่นว่า ทืน) มาจากคำเต็มว่า ทินนะ แปลว่า วัน อย่างเรียกพระอาทิตย์ว่าทินกร เพราะเป็นผู้สร้างหรือทำให้เกิดมี(กลาง)วันขึ้นมา สรุปได้ว่า ปักขะ, ปักษะ + ทินะ, ทืน = ปักขะทืน นั้นเอง

คิดอีกอย่างหนึ่ง การนับวัน เดือน ปี หรือกำหนดนับศักราชของสังคมวัฒนธรรมมนุษย์แบบสากลในโลกนี้ มีสองคติคือจันทรคติอย่างหนึ่งกับสุริยคติอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้นเมื่อนำเอาจันทรคติ + สุริยคติ แล้ว จึงเรียกได้ว่า แบบเฉพาะของวัน(ปฏิทิน)นั้นถือเอาตามผู้สร้างผู้กำหนดวันและคืนเป็นหลัก ได้แก่ผู้ถือ ผู้สร้าง ผู้ทรง ผู้ให้เกิด ผู้ทำ (ผู้นั้นเรียกว่า ธร หรือ กร)…ผู้ให้มีวันและคืนขึ้นมา สมมติเรียกว่า พระจันทร์, ปักษธร + พระอาทิตย์, ทินกร = ปักขะทิน, ปักขะทืน หมายถึง ตะวันกับเดือนผู้เป็นเจ้าแห่งคืนวัน อันเป็นผู้กำหนดสร้าง ปฏิทิน ขึ้นมาให้มนุษย์ได้มีได้ใช้สืบกันมา ด้วยประการฉะนี้แล.

ซึ่งความจริงแล้ว คำว่า ปักขทืน (ปักขะทืน)นี้ คำภาษาโบราณก็ใช้เรียกกันมาก่อน คำว่า ปฏิทิน ที่ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Calendar เพราะนอกจากหลักฐานการศึกษาว่าด้วย ปักขทืน หรือ ปฏิทินล้านนา แล้ว คำว่า ปักขทืน ยังใช้ในภาษาลาวรวมทั้งลาวทางอีสานอีกด้วย (อ้างอิงจาก สารานุกรมภาษาอีสาน-ไทย-อังกฤษ โดย ปรีชา พิณทอง, โรงพิมพ์ศิริธรรม, อุบลฯ, พ.ศ. ๒๕๓๒ ดู ปฏิทิน หน้า ๔๘๕)